ปิดเทอมนี้โค้ดดิ้งจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป Samsung Innovation Campus (SIC) ชวนนักเรียนมัธยมต้นทั่วประเทศ ร่วมอบรมการเขียนโปรแกรมออนไลน์ฟรี! สมัครได้แล้ววันนี้ถึง 6 มีนาคม 65 กรุงเทพฯ (2 กุมภาพันธ์ 2565) – ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนที่เราใช้อยู่ทุกวัน บัตรสมาร์ทการ์ดสำหรับการเดินทาง ตู้กด vending machine ต่างๆ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการป้อนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ โค้ดดิ้ง ด้วยกันทั้งสิ้น และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ อีกมากมาย จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโค้ดดิ้งได้กลายเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญสำหรับโลกยุคนี้ที่ยิ่งเริ่มต้นศึกษาเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เปรียบในอนาคต
ด้วยเหตุนี้เอง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด
จึงได้ริเริ่มโครงการ SIC มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อจัดอบรมหลักสูตรการเขียนโค้ดและการเขียนโปรแกรม (Coding & Programming) ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งในปีนี้ประตูสู่โลกโค้ดดิ้งกำลังจะถูกเปิดขึ้นอีกครั้ง กับการจัดกิจกรรมอบรมในหลักสูตร Basic Coding 2022 เพื่อให้เหล่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้การเขียนโค้ด ตั้งแต่การฝึกการคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) ผ่านโปรแกรม Scratch ฝึกเขียนภาษา C และ Python ตลอดจนทดลองนำความรู้สร้างโปรแกรมประยุกต์ด้าน AI และปิดท้ายด้วยการประชันไอเดียออกแบบนวัตกรรมในกิจกรรม Idea Demonstrationโดยการอบรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 9 พฤษภาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม shoppingmode Microsoft Teams
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีความสนใจด้านการเขียนโค้ดและการเขียนโปรแกรม สามารถสมัครเข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ www.samsungsic-thailand.org ตั้งแต่วันนี้ – 6 มีนาคม 2565 หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เฟซบุ๊คเพจ Samsung Innovation Campus TH
“Stakeholder Economy” จะขับเคลื่อนแบรนด์เกิดใหม่และธุรกิจท้องถิ่น และส่งผลกระทบต่อบริษัทยักษ์ใหญ่บนอินเทอร์เน็ต และตลาดซื้อขายสินค้าทั่วโลก แบรนด์ต่างๆ จะถูกกำหนดด้วยมีม คอนเทนต์ และการสนทนาในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจและโครงการใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นชุมชนก็จะมีลักษณะกระจายศูนย์มากขึ้นเช่นกัน โดยโครงสร้างองค์กรใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนจะทำให้เจ้าของและลูกค้าเป็น stakeholders
ปัจจุบัน แบรนด์ต่างๆ ถูกกำหนดด้วยการสร้างคอนเทนต์ของมวลชน ซึ่งต่างจากการใช้บริการของเอเจนซี่ด้านครีเอทีฟและการซื้อโฆษณา และทุกวันนี้ แบรนด์ต่างๆ จะนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีและสดใหม่ได้จำเป็นต้องอาศัยคอนเทนต์ล่าสุดที่เกิดขึ้น
ถ้าแบรนด์หรือบริษัทที่คุณชื่นชอบสามารถให้คุณเป็นเจ้าของได้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นเจ้าของร่วมกันในบริษัทขนาดเล็กอาจกลายเป็นภัยต่อบริษัทขนาดใหญ่ ถ้า stakeholders ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในธุรกิจดังกล่าวมีแรงจูงใจที่จะช่วยสร้าง ปรับปรุง ทำตลาด และสนับสนุนแบรนด์นั้นๆ ก็ย่อมจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และในท้ายที่สุดแล้ว ธุรกิจที่อาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนแบบ “many-to-many” น่าจะประสบความสำเร็จในการทำตลาดได้ดีกว่าธุรกิจแบบ “one-to-many”
เราทุกคนจะเลือกรับโฆษณามากขึ้นด้วยประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะทำการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคล (Personalization) ได้เป็นอย่างดีจนทำให้การดูโฆษณาเป็นที่นิยมมากขึ้น การเจอโฆษณายาสีฟันไวท์เทนนิ่งหรือคอร์สลดน้ำหนักที่น่ารำคาญใจครั้งแล้วครั้งเล่าย่อมทำให้คนเลือกที่จะไม่ดูโฆษณา อย่างไรก็ดี “ประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล” จะช่วยทำให้เกิดการโฆษณารูปแบบใหม่ และโดยมากแล้วเราก็ชอบประสบการณ์แบบนี้มากกว่า
การบริการที่ “เพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชน” เพื่อต่อกรกับผู้มีอำนาจ ผมรู้สึกตื่นตาตื่นใจอย่างมากกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์และเครือข่ายที่มุ่งขจัดอุปสรรค หรือโมเดลธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และเราจะเห็นสิ่งเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่นแอป DoNotPay ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บริโภคในการต่อสู้กับระบบราชการ และหาหนทางขจัดขั้นตอนการทำงานของภาครัฐเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชน บริการทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่ประชาชน แทนที่จะต้องรอรับบริการในระบบที่อยู่เกินอำนาจการควบคุมของประชาชน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนอกจากจะช่วยเหลือประชาชนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐและบริษัทขนาดใหญ่เข้ามามีบทบาทและดำเนินการอย่างรับผิดชอบ
ทุกส่วนงานขององค์กรจะแปรเปลี่ยนเป็น Immersive Experience รองรับmulti-player สิ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึงกันก็คือเรื่องของค่าใช้จ่ายและข้อเสียของระบบผู้เล่นหลายคน (Multi-player) ไม่ว่าจะเป็นแอปที่มีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อรองรับการทำงานร่วมกันมากขึ้น หรือโปรโตคอลที่อาศัยฉันทามติ (consensus)บนบล็อกเชน อย่างไรก็ดี คนรุ่นใหม่มีทัศนคติที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับคุณประโยชน์และข้อเสียที่ตามมา กล่าวคือ คนกลุ่มนี้ต้องการที่จะทำงานร่วมกันมากกว่า แม้ว่าจะมีปัญหาและความล่าช้าเกิดขึ้น เมื่อเทียบกับการทำงานโดยลำพังเพียงคนเดียว แต่ทำได้เร็วกว่า
คนรุ่นใหม่จะชื่นชอบรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานแบบมีอิสระมากขึ้น (Nomad) คนหนุ่มสาววัยยี่สิบกว่าเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ตามบ้านเช่าหรือเปลี่ยนที่พักไปเรื่อยๆ ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ทำงานจากระยะไกล และดื่มด่ำกับวัฒนธรรมในชุมชนที่อาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น ประสบการณ์ดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขา และกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การยอมรับความหลากหลายอย่างเปิดกว้าง และการค้นหาตัวเองจะส่งผลดีต่อชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงาน มีผลิตภัณฑ์ หรือเครือข่ายประเภทใดบ้างที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงประสบการณ์ดังกล่าวได้ง่ายขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง? แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์และองค์กรนายจ้างที่ปรับเปลี่ยนไปสู่ทิศทางนี้จะประสบความสำเร็จในอนาคต
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป